เรือผู้อพยพขึ้นฝั่งหมู่เกาะคานารีของสเปน พบผู้เสียชีวิต

ตลอดปีที่ผ่านมา หมู่เกาะกลางมหาสมุทรแอตแลนติกซึ่งมีที่ตั้งใกล้กับทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา กลายเป็นจุดหมายที่ผู้อพยพจากระเทศแอฟริกาตะวันตกเดินทางเข้าไป เพื่อใช้เป็นทางผ่านไปสู่ยุโรป

ล่าสุดเมื่อวานนี้ 9 พ.ย. เรือบรรทุกผู้อพยพจำนวน 81 คนได้จอดเทียบที่เกาะเอล อิเอร์โร (El Hierro) หนึ่งในเกาะของหมู่เกาะคานารี โดยมีผู้เสียชีวิตขณะเดินทางมาถึงเกาะแห่งนี้ 1 ราย มีผู้บาดเจ็บรวมอยู่ด้วย

เรือผู้อพยพล่มนอกชายฝั่งกรีซ ตาย 79 สูญหายหลายร้อย

ผู้อพยพไนจีเรียเสี่ยงตาย แอบนั่งหางเสือเรือ 14 วัน โผล่บราซิล

หน่วยกู้ภัยฉุกเฉินท้องถิ่นในเมือง ลา เรสติงกา (La Restinga) เมืองเล็กๆ ที่มีประชากรราว 400 คน ทางตอนใต้ของเกาะเอล อิเอร์โร หนึ่งในเจ็ดเกาะย่อยของหมู่เกาคานารีได้ช่วยเหลือผู้อพยพที่โดยสารมาบนเรือให้ขึ้นฝั่งที่นี่ 81 คน

ในจำนวนนี้มีผู้อพยพที่เสียชีวิตระหว่างการเดินทาง 1 ราย และพบผู้ที่ต้องได้รับความช่วยเหลือทางการแพทย์อย่างน้อย 5 รายจากภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติและภาวะขาดน้ำ โดยขณะนี้กำลังรับการรักษาในโรงพยาบาลชั่วคราวที่สภากาชาดตั้งขึ้นที่ท่าเรือลา เรสติงกา

นี่เป็นเพียงระลอกหนึ่งของผู้อพยพที่ล่องเรือมายังเมืองแห่งนี้เท่านั้น หน่วยงานยามชายฝั่งของสเปนระบุว่า ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาเพียงสัปดาห์เดียว มีผู้อพยพรวม 885 รายแล้วที่เดินทางมาถึงลา เรสติงกา จำนวนผู้อพยพเพิ่มมากขึ้นนับตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่อบอุ่นขึ้นและคลื่นลมทะเลที่สงบลง ส่วนตลอดปีนี้ เกาะเอล อิเอร์โรรับผู้อพยพไปมากกว่าจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในเกาะแล้ว ก็คือมากกว่า 9,000 คน

กระทรวงมหาดไทยสเปนเปิดเผยว่าตั้งแต่เดือนมกราคม 2023 จนถึงขณะนี้ มีผู้ลี้ภัยเดินทางมายังเกาะต่างๆของหมู่เกาะคานารีแล้วมากกว่า 32,000 คน ถือเป็นจำนวนที่มากที่สุดในรอบหลายสิบปี โดยเพิ่มขึ้นกว่าปีที่แล้วมากถึงร้อยละ 111 ผู้อพยพเหล่านี้มาจากไหน และทำไมจึงมุ่งหน้ามาที่หมู่เกาะคานารี

คานารีเป็นหมู่เกาะของสเปน ประกอบด้วยเกาะย่อยๆ อีก 7 เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติก ไม่ไกลนักจากภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกและแอฟริกาเหนือ และจากจุดนี้ มีเส้นทางเชื่อมต่อหากต้องการไปที่แผ่นดินใหญ่ของสเปนผู้อพยพส่วนใหญ่ที่มุ่งหน้ามาหมู่เกาะคานารีมาจากประเทศในแอฟริกาตะวันตก โดยเฉพาะประเทศที่อยู่ตามแนวชายฝั่ง

ที่มากที่สุดคือจากเซเนกัล ส่วนนอกจากนี้มาจากแกมเบีย โมร็อกโก มอริเตเนีย คนเหล่านี้ที่ตัดสินใจอพยพออกมาเนื่องจากปัญหาการเมืองภายในที่ไร้เสถียรภาพ และปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ รวมถึงค่าครองชีพที่พุ่งสูง หรือการว่างงานคำพูดจาก เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด

จุดหมายปลายทางของผู้อพยพคือ ยุโรปการเดินทางทางทะเลเพื่อไปที่หมู่กาะคานารี ก่อนเดินทางเข้าแผ่นดินใหญ่ยุโรปคือวิธี ที่นิยมทำกันมากที่สุด เนื่องจากอีกเส้นทางหนึ่งคือ เส้นทางบกที่ผ่านทะเลทรายซาฮาราต่อไปยังทะเลเมดิเตอร์เรเนียนมีการควบคุมพรมแดนที่หนาแน่น อย่างไรก็ดี นี่ถือเป็นเส้นทางอพยพไปยังยุโรปที่อันตรายที่สุดเส้นทางหนึ่ง

รายงานจากองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานหรือ IOM ระบุว่า มีผู้อพยพอย่างน้อย 512 รายเสียชีวิตจากการอพยพผ่านเส้นทางนี้

นอกจากสเปน อีกประเทศหนึ่งที่เผชิญกับปัญหาผู้อพยพอย่างต่อเนื่องคืออิตาลี โดยเฉพาะที่เกาะลัมเปดูซาทางตอนใต้ของประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาเคยประสบปัญหาผู้อพยพล้นเกาะเกินกว่าจะรองรับได้

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีจอร์เจีย เมโลนี ของอิตาลี ประกาศว่าได้บรรลุข้อตกลงกับแอลเบเนียในการสร้างศูนย์หรือค่ายรับรองและกักกันผู้ขอลี้ภัย 2 แห่งที่แอลเบเนีย ซึ่งอยู่ห่างจากเกาะลัมเปดูซากว่า 1,000 กิโลเมตร

ค่ายแห่งนี้สามารถรองรับผู้ขอลี้ภัยที่ได้รับความช่วยเหลือจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้สูงสุด 3,000 คน และอิตาลีจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างทั้งหมดขณะที่ศูนย์ผู้ขอลี้ภัยนี้คาดว่า จะเปิดทำการในปี 2024 พร้อมหวังว่าจะขยายขีดความสามารถในการรองรับผู้ขอลี้ภัยเหล่านี้ให้ได้ 36,000 คนต่อปี

นี่ถือเป็นโครงการริเริ่มตัวอย่างแรกของประเทศที่อยู่นอกสหภาพยุโรปที่ยอมรับผู้ขอลี้ภัยจากสภาพยุโรป และเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนการควบคุมจำนวนผู้ขอลี้ภัยที่เข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายแต่นายกรัฐมนตรีเมโลนีย้ำว่า สตรีมีครรภ์ ผู้เยาว์ และผู้ที่มีความเสี่ยงอื่นๆ จะไม่ถูกส่งไปที่นั่น

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้องค์กรสิทธิมนุษยชน แอมเนสตี อินเตอร์เนชันแนลของอิตาลีออกมาแสดงความกังวล พร้อมทั้งวิพากษ์วิจารณ์ข้อตกลงดังกล่าวว่าเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ และสิทธิของกลุ่มผู้ขอลี้ภัย

สำหรับในปีนี้อิตาลีมีผู้ขอลี้ภัยที่ใช้เส้นทางทางทะเลเดินทางมาถึงแล้วมากกว่า 145,000 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากจากปีที่แล้ว

ขณะที่นายกรัฐมนตรีเมโลนีกำลังพยายามดิ้นรนอย่างหนักในสกัดกั้นและควบคุมกลุ่มคนเหล่านี้ไม่ให้เดินทางอพยพเข้ามายังอิตาลี

อีกประเทศหนึ่งที่กำลังเจอกับวิกฤตผู้อพยพคือ เซอร์เบีย ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นเส้นทางผ่านของคนกลุ่มนี้เพื่อเดินทางเข้าสู่ยุโรป ล่าสุดตำรวจเซอร์เบียเปิดเผยว่า สามารถจับกุมตัวผู้ขอลี้ภัยได้แล้วกว่า 4,500 คน อีกทั้งยังบุกยึดอาวุธได้อีกจำนวนมาก

ภาพการปฏิบัติภารกิจของเจ้าหน้าที่ตำรวจเซอร์เบียที่บุกรังของกลุ่มผู้ขอลี้ภัยตามป่ารกในช่วงตลอดสองสัปดาห์ที่ผ่านมา

กระทรวงมหาดไทยของเซอร์เบียระบุว่า นับตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคมที่ผ่านมา ตำรวจสามารถบุกจับกุมตัวผู้ขอลี้ภัยได้แล้วประมาณ 4,500 คนในเขตเทศบาลซูโบติกา (Subotica) ซอมโบร์ (Sombor) และคิคินดา (Kikinda) ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับชายแดนประเทศฮังการีและเมืองปิโรต์ (Pirot) ซึ่งอยู่ติดกับชายแดนประเทศบัลแกเรีย ก่อนที่จะย้ายคนกลุ่มนี้ไปยังค่ายกักกันที่ควบคุมโดยรัฐบาล

ทั้งนี้รายงานจากกระทรวงมหาดไทยของเซอร์เบีย ระบุด้วยว่า จากการบุกจับกุมของเจ้าหน้าที่สามารถรวบตัวคนลักลอบขนของเถื่อนได้ 8 คน และอีก 119 คนถูกจับกุมตัวด้วยข้อหาที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงข้อหาการค้ามนุษย์ การครอบครองอาวุธ และยาเสพติดอย่างผิดกฎหมาย นอกจากนี้ตำรวจยังสามารถยึดปืนไรเฟิลจู่โจมได้ 5 กระบอก ปืนพก 5 กระบอก

กระสุนหลากหลายขนาดอีกกว่า 1,500 นัด รวมถึงหนังสือเดินทางต่างประเทศอีกหลายร้อยเล่ม และตรวจค้นรถยนต์มากกว่า 81,000 คัน และบ้านเรือนอีกกว่า 300 หลัง

กระทรวงมหาดไทยของเซอร์เบียเน้นย้ำว่า จะปฏิบัติภารกิจดังกล่าวต่อไปจนกว่าปัญหาการอพยพย้ายถิ่นฐานที่ผิดปกตินี้จะได้รับการแก้ไข รวมถึงสามารถตัดห่วงโซ่อุปทานการลักลอบค้ามนุษย์เหล่านี้จะหมดไป

อย่างไรก็ตามกระทรวงมหาดไทยเซอร์เบียไม่ได้ระบุว่าผู้ขอลี้ภัยกลุ่มนี้มาจากที่ใด แต่โดยทั่วไปแล้วคนกลุ่มนี้มักจะมาจากตะวันออกกลาง อัฟกานิสถาน ปากีสถาน และแอฟริกาเหนือ โดยใช้เส้นทางแถบคาบสมุทรบอลข่านเดินทางเข้าสู่สหภาพยุโรป

ขณะที่ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานจำนวนมากข้ามผ่านพรมแดนด้วยความช่วยเหลือจากเครือข่ายที่ซับซ้อนของกลุ่มลักลอบขนของเถื่อน หรืออาวุธเถื่อน ซึ่งมีการยิงกันเกิดขึ้นบ่อยครั้งระหว่างกลุ่มอาชญากร อย่างเมื่อเดือนที่แล้ว

พบผู้ขอลี้ภัย 3 คนเสียชีวิตจากเหตุกราดยิงใกล้ชายแดนเซอร์เบียที่ติดกับประเทศฮังการี ซึ่งเป็นเส้นทางที่ผู้ลักลอบขนคนเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายใช้งานเพื่อเดินทางเข้าสู่สหภาพยุโรปมากขึ้น

ทั้งนี้เซอร์เบีย ซึ่งเป็นผู้สมัครเข้าร่วมสหภาพยุโรปได้ส่งเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนร่วมกับฮังการี และออสเตรีย

ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป โดยรัฐบาลเซอร์เบียให้คำมั่นสัญญาว่าจะปรับนโยบายออกวีซ่าให้ชาวต่างชาติให้สอดคล้องกับสภาพยุโรป เพื่อช่วยสกัดการอพยพของผู้คนอย่างผิดกฎหมาย